Search

จับตา สายงานวงการแพทย์ 'Health Data Scientist ดาวรุ่งยุคเทคโนโลยีดิสรัป - thebangkokinsight.com

scnienews.blogspot.com

สายงานวงการแพทย์ “Health Data Scientist” ดาวรุ่งยุคเทคโนโลยีดิสรัป หลัง ข้อมูล เอไอ 5G เข้ามามีบทบาท การแพทย์แห่งอนาคต ววจ. พัฒนาหลักสูตรรับเทรนด์

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ อธิการบดี วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (ววจ.) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดเผยว่า เทคโนโลยีข้อมูล หรือ Data Technology เป็นส่วนผสมสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์ ที่กำลังก้าวเข้ามา ซึ่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (ววจ.) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างไม่สามารถเลี่ยงได้นี้ จึงจัดตั้ง หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ หรือ Health Data Science ขึ้น เพื่อร่วมพัฒนา สายงานวงการแพทย์

สายงานวงการแพทย์

ทั้งนี้ เพื่อเตรียมรับมือกับโลกอนาคต ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

“ในต่างประเทศ ใครที่จบวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ เป็นสาขาที่บรรดาบริษัทยารีบคว้าตัวไว้เลย เพราะเป็นสาขาที่สำคัญมากในการคิดนวัตกรรมใหม่ๆ แต่สำหรับในไทย ใครที่จบสาขานี้สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการแพทย์และสาธารณสุขในระดับชาติได้เลย”ศ.นพ.นิธิ กล่าว

ทั้งนี้เพราะ การมีข้อมูล หรือ Data เป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องอาศัยการวิเคราะห์ เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วย ดังนั้น คนที่อยู่ในอาชีพต้องมีความรู้ที่ผสานกัน ทั้งในด้านการแพทย์และเทคโนโลยี ต้องมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบนักวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะวิเคราะห์หาคำตอบของปัญหาจากข้อมูลนับล้านๆที่อยู่ตรงหน้าได้

ขณะเดียวกัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การถาโถมของเทคโนโลยีดิจิทัล ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในหลายอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ลงลึกถึงระดับโครงสร้างอุตสาหกรรม ที่ถูกเรียกว่าเป็นยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น (Technology Disruption) นี้ เกิดขึ้นทั้งในวงการสื่อ การธนาคาร การค้าปลีก การขนส่งโลจิสติกส์

ศ.นพ.นิธิ มหานนท์

จนมาถึงช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้ ขยับขยายมาสู่โลกของการศึกษาและการทำงาน ที่ต้องหันมาใช้เทคโนโลยีกันอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ หนึ่งในนั้นคือวงการแพทย์และการสาธารณสุข ตามที่เราได้เห็นข่าวคราวการใช้เทคโนโลยีในด้านนี้มาโดยตลอดนับตั้งแต่โควิด-19 ได้เริ่มระบาดไปทั่วโลก

แม้ว่าระบบการแพทย์และสาธารณสุขของไทยจะได้รับการยกย่องว่ามีมาตรฐานที่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะจบลงที่ตรงไหน และสาขาอาชีพต่างๆ ในวงการแพทย์และการสาธารณสุข ต้องเตรียมพร้อมในการสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการรับมือ เพื่อให้เดินหน้าต่อไปอย่างไร

ศ.นพ.นิธิ เล่าว่า การนำ Data Technology และ AI มาใช้ เพื่อประเมินและคาดการณ์สถานการณ์การระบาดของโรค โดยเฉพาะในต่างประเทศ ซึ่งหากมาพิจารณาให้ลึกลงไปแล้ว การแพร่ระบาดของโรคในแต่ละประเทศ ก็มีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมด้วย

ดังนั้น ข้อมูลจากประเทศหนึ่ง อาจไม่สามารถนำมาวิเคราะห์กับอีกประเทศหนึ่งได้ ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น ประชากรนั่งรถไฟฟ้าหนาแน่น แต่การแพร่ระบาดน้อย ซึ่งอาจเป็นเพราะคนญี่ปุ่นใส่หน้ากากอนามัยกันเป็นปกติ ไม่พูดคุยกัน ก้มหน้าเล่นมือถือหรืออ่านหนังสือขณะที่ประเทศจีนมีตลาดสด ร้านภัตตาคาร ผู้คนเดินกันพลุกพล่าน มีการพูดคุยกัน อยู่กันอย่างแออัด อากาศไม่หมุนเวียน รูปแบบการระบาดจึงแตกต่างกัน

สายงานการแพทย์

สำหรับในประเทศไทยเอง เรามีอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ที่มีบทบาทสำคัญที่ช่วยควบคุมการระบาด ซึ่งต่างประเทศไม่มี แต่ที่ผ่านมาประเทศไทยยังขาดการรวบรวม Data ที่สำคัญเหล่านี้อย่างเป็นระบบ เป็นของประเทศเราเอง คาดว่าจากโควิด-19 หลายฝ่ายในประเทศเราจะหันมาให้ความสำคัญกับเรื่อง Data ในการแพทย์และสาธารณสุขมากขึ้น”

“เทคโนโลยี อย่าง AI ก็จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการแพทย์มากขึ้น ช่วยในการวิเคราะห์วินิจฉัยโรคให้มีความแม่นยำขึ้น โดยอิงจาก Big Data ที่มีอยู่ การมาถึงของ 5G ก็จะทำให้ Telemedicine เกิดขึ้นเร็วขึ้น

“ผมเชื่อว่าในอนาคตผู้ป่วยอาจไม่ต้องมาถึงที่โรงพยาบาล แต่อาจจะมีอุปกรณ์ ที่เขาสามารถตรวจวัดร่างกาย หรือเจาะเลือดเองได้ที่บ้าน แล้วส่งข้อมูลมาที่โรงพยาบาล และพูดคุยทางไกลกับหมอ เพื่อรับคำปรึกษา และเดินทางมาที่โรงพยาบาลเท่าที่จำเป็นจริงๆ ซึ่งหาก เทคโนโลยี นี้เกิดขึ้นจริง ก็จะช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลได้มาก และช่วยให้หมอสามารถทำการรักษาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น”ศ.นพ.นิธิ กล่าว

อีกหนึ่งคำถามที่สำคัญ คือแพทย์และพยาบาล จะต้องปรับตัวอย่างไรท่ามกลางคลื่นของดิสรัปชั่นนี้

“ก่อนอื่นต้องมองว่า เทคโนโลยี ต่างๆ ที่เข้ามา ไม่ได้มาเพื่อควบคุมการทำงานของหมอและพยาบาล แต่ความก้าวหน้าเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่เขาต้องควบคุมมันและใช้ให้เกิดประโยชน์ ประการที่สองคือเทคโนโลยีเหล่านี้ไม่สามารถทดแทนมนุษย์ได้ เพราะท้ายที่สุดแล้วผู้ป่วยก็อยากได้รับการดูแลรักษาหรือได้คำปรึกษาจากมนุษย์ด้วยกัน มนุษย์ที่สามารถจะเข้าใจความรู้สึกกันและกันได้ ต่างจากหุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่ไม่มีทางเข้าใจความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ที่ละเอียดอ่อนได้เลย”

ขณะที่ เป้าหมายของ ววจ. ในวันนี้คือการสร้างบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีความเป็นมนุษย์ มี Empathy ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สามารถมองลึกลงไปถึงความรู้สึก เข้าใจความเป็นทุกข์ของผู้ป่วยได้ และตระหนักว่าความรู้ความสามารถที่ใช้ในการรักษานั้น

ลึกลงไปคือ การช่วยให้คนได้พ้นทุกข์ สองคือ ต้องพร้อมรับในความเปลี่ยนแปลง รู้จักการใช้ เทคโนโลยี ใหม่ๆให้เกิดประโยชน์ สามคือรู้จักคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งนี้เป็นเสมือนอาวุธที่ติดตัวไว้ ไม่ว่าจะมีโรคอุบัติใหม่อีกกี่ครั้งก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ รวมทั้งเป็นพื้นฐานของการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้การรักษา และท้ายที่สุดคือต้องรู้จักสร้างความร่วมมือกับบุคลากรในสายงานอื่น ทำงานเป็นทีม เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันและสร้างพัฒนาการใหม่ๆให้เกิดขึ้น

ด้วยเป้าหมายที่จะยกระดับประเทศไทยไปสู่การแพทย์แห่งอนาคต ปัจจุบัน ววจ. จึงพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัย เช่น หลักสูตรแพทย์แนวใหม่ที่ใช้ระยะเวลาเรียน 7 ปี และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับ 2 ปริญญา คือ ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต iBSc จากมหาวิทยาลัยยูซีแอล สหราชอาณาจักร โดยนักศึกษาจะได้บินลัดฟ้าไปเรียนที่สหราชอาณาจักรหนึ่งปีเต็ม เพื่อเรียนรู้การสร้างงานวิจัยแบบเข้มข้น

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ของคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ก็เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่สำคัญ ในการเตรียมพร้อมบุคลากรของประเทศให้ มีทักษะความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และเข้าใจโลกของการแพทย์เพื่อรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Add Friend Follow


July 26, 2020 at 05:32AM
https://ift.tt/2P2cU0d

จับตา สายงานวงการแพทย์ 'Health Data Scientist ดาวรุ่งยุคเทคโนโลยีดิสรัป - thebangkokinsight.com

https://ift.tt/2wcicAM


Bagikan Berita Ini

0 Response to "จับตา สายงานวงการแพทย์ 'Health Data Scientist ดาวรุ่งยุคเทคโนโลยีดิสรัป - thebangkokinsight.com"

Post a Comment

Powered by Blogger.