Search

ประวัติวันวิทยาศาสตร์ไทย ทำไมต้องเป็น 18 สิงหาคมของทุกปี - ไทยรัฐ

scnienews.blogspot.com
ประวัติวันวิทยาศาสตร์ 18 สิงหาคมของทุกปี

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ถูกกำหนดในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้ผลักดันให้กำหนดวันวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 ซึ่งครบรอบ 100 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทำนายวันเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งแรกของประเทศไทย และเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรยัง ต.บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วยพระองค์เอง

การศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย

การศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเริ่มต้นจากงานออกแบบก่อสร้าง และทำผังเมืองด้วยการดูทิศทางแสงของพระอาทิตย์ ยุคอยุธยาพบการนำกล้องโทรทรรศน์เข้ามาจากต่างประเทศ ถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทอดพระเนตรจันทรุปราคาในปี พ.ศ. 2228 และในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ก็มีการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรสำหรับการพิมพ์ การถ่ายภาพ และทำยาสมุนไพร

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ก็ทรงใช้กล้องโทรทรรศน์คำนวณวันเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ส่วนการระบุวิชา “วิทยาศาสตร์” ไว้ในระบบการศึกษาอย่างมีแบบแผนนั้น กำหนดในหลักสูตรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2464 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และ “วิทยาศาสตร์” ได้ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ว่า “รัฐต้องเร่งรัดและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาประเทศ” เพื่อสู่เป้าหมายจัดการการศึกษาวิทยาศาสตร์ให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ

ประวัติวันวิทยาศาสตร์ไทย

18 สิงหาคม ของทุกปี คือวันรำลึกถึงเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถึงบ้านหว้ากอ เนื่องจากทรงคำนวณแล้วว่าในประเทศเราจะมองเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงที่นั่น และทรงรับสั่งให้สร้างค่ายหลวงและพลับพลา เพื่อต้อนรับคณะนักดาราศาสตร์และนักการทูตจากต่างประเทศมาร่วมสังเกตการณ์ด้วย

ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ในครั้งนั้นแม้กระทั่งโหราจารย์ฝั่งไทยก็ยากที่จะเชื่อ เพราะไม่เคยมีปรากฏในตำราโหรว่าเคยพบสุริยุปราคาเต็มดวงในประเทศไทย และครั้งนี้ได้ทรงเชิญนักการทูต อาทิ เซอร์แฮรี เซนต์ ยอช ออด ผู้สำเร็จราชการมลายูของอังกฤษประจำเมืองสิงคโปร์ และนักวิทยาศาสตร์ชาวต่างประเทศอีกจำนวนมาก ร่วมสังเกตการณ์ด้วย

ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

จากประชุมจดหมายเหตุ เรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเรียบเรียงไว้ เผยแพร่โดยกรมศิลปากร ได้ระบุว่า จากคำบอกเล่าของผู้อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้น เมื่อถึงเวลาที่ทรงคำนวณไว้ก็ปรากฏสุริยุปราคาเต็มดวง

ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามมติคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2525 และภายหลังได้สร้าง “อุทยานวิทยาศาสตร์” ที่บ้านหว้ากอ ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


คําขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติในแต่ละปี

  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2532 : พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คำขวัญวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2533 : เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2534 : ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2536 : วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2537 : ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2538 : เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2539 : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2540 : พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2541 : พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2542 : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยืน
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2543 : พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2544 : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2545 : วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2546 : เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2547 : เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2548 : วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2549 : เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2550 : วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2551 : วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2552 : วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2553 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2554 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2555 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2556 : ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2557 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2558 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2559 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2560 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2561 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2562 : จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม
  • คำขวัญวันวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2563 : รอประกาศ

ที่มา :  ประชุมจดหมายเหตุ เรื่องสุริยุปราคาในรัชกาลที่ 4 ; และ, เรื่องรัชกาลที่ 4 ประชวรและสวรรคต

อ่านเพิ่มเติม...




August 18, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/2E52qeT

ประวัติวันวิทยาศาสตร์ไทย ทำไมต้องเป็น 18 สิงหาคมของทุกปี - ไทยรัฐ

https://ift.tt/2wcicAM


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ประวัติวันวิทยาศาสตร์ไทย ทำไมต้องเป็น 18 สิงหาคมของทุกปี - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.